top of page

เงื่อนไขของผลงานที่นำเสนอ

    1. บทความที่จะนำเสนอต้องเป็นผลงานที่ไม่เคยเผยแพร่ที่ใดมาก่อน และจัดทำบทความตามรูปแบบที่คณะกรรมการกำหนดไว้เท่านั้น

    2. เป็นผลงานวิจัย/งานสร้างสรรค์ ของคณาจารย์ นักวิจัย นักวิชาการ และผู้สนใจ

    3. เป็นผลงานวิทยานิพนธ์/การศึกษาค้นคว้าอิสระของนิสิต/นักศึกษา ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาที่ดำเนินการเสร็จสิ้นแล้ว

ประเภทการนำเสนอ

    1. นำเสนอในรูปแบบการบรรยาย (Oral presentation) ด้วย Power Point โดยใช้เวลานำเสนอไม่เกินเรื่องละ 10 นาที และซักถาม 5 นาที ผ่านระบบออนไลน์

การเตรียมต้นฉบับบทความฉบับสมบูรณ์

    1. ต้นฉบับพิมพ์เป็นภาษาไทย องค์ประกอบต่างๆ ของบทความวิจัยหรือบทความวิชาการให้จัดทำตามคำแนะนำการเตรียมต้นฉบับนี้ การใช้ภาษาไทยให้ยึดหลักการใช้คำศัพท์และชื่อบัญญัติตามหลักของราชบัณฑิตยสถาน ควรหลีกเลี่ยงการเขียนภาษาอังกฤษปนภาษาไทยโดยไม่จำเป็น กรณีจำเป็นให้เขียนคำศัพท์ภาษาไทยตามด้วยในวงเล็บภาษาอังกฤษ โดยคำแรกให้ขึ้นต้นด้วยตัวพิมพ์ใหญ่ ส่วนอักษรและคำที่เหลือทั้งหมดให้พิมพ์ด้วยตัวพิมพ์เล็ก ยกเว้นชื่อเฉพาะทุกคำให้ขึ้นต้นด้วยตัวพิมพ์ใหญ่ การปรากฏอยู่หลายที่ในบทความของศัพท์คำเดียวกันที่เป็นภาษาไทยตามด้วยภาษาอังกฤษให้ใช้คำศัพท์ภาษาไทยตามด้วยภาษาอังกฤษเฉพาะครั้งแรก ครั้งต่อไปใช้เฉพาะคำศัพท์ภาษาไทยเท่านั้น

    2. การพิมพ์ ให้จัดพิมพ์ด้วยโปรแกรม Microsoft Office Word ระยะบรรทัดเดี่ยว โดยจัดหน้ากระดาษ ขนาด A 4  (8.5 x 11 นิ้ว) ตั้งค่าหน้ากระดาษสำหรับการพิมพ์ห่างจากขอบกระดาษด้านบน-ด้านซ้าย  ด้านละ 1.5 นิ้ว (3 เซนติเมตร) ด้านล่าง-ด้านขวา ด้านละ 1 นิ้ว (2.5 เซนติเมตร) จัดเป็น 1 คอลัมน์ใส่เลขหน้ากำกับทุกหน้า

    3. รูปแบบตัวอักษร ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษใช้แบบ TH SarabunPSK ขนาดตัวอักษรทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษใช้ขนาดตัวอักษรอย่างเดียวกัน ดังนี้ ชื่อเรื่องขนาด 18 pt. ชื่อผู้เขียนบทความและหัวข้อหลักใช้ตัวอักษรขนาด 16 pt. หัวข้อรองใช้ตัวอักษรขนาด 14 pt. ตัวหนาเนื้อความทุกส่วนใช้ตัวอักษรขนาด 14 pt. ตัวปกติ เชิงอรรถหน้าแรกที่เป็นชื่อตำแหน่งทางวิชาการของผู้เขียนบทความและที่อยู่ใช้ตัวอักษรขนาด 12 pt. ตัวปกติ

    4. จำนวนหน้า ความยาวของบทความไม่เกิน 10-15 หน้า (รวมตาราง รูปภาพ และเอกสารอ้างอิง)

    5. ตาราง รูปภาพ ภาพลายเส้น แผนภูมิ และกราฟ (Tables, Pictures, Figures, Diagrams and Graphs) ให้แทรกไว้ในเนื้อเรื่องอาจจัดทำเป็นขาวดำหรือสีใดก็ได้ โดยให้ผู้เขียนบทความคัดเลือกเฉพาะที่จำเป็นเท่านั้น เรียงลำดับให้สอดคล้องกับเนื้อเรื่อง ชื่อตารางให้อยู่ด้านบนของตาราง ส่วนชื่อรูปภาพ แผนภูมิ และกราฟให้อยู่ด้านล่างพร้อมทั้งคำอธิบายสั้นๆ ที่สื่อความหมายได้สาระครบถ้วน ส่วนไฟล์รูปภาพให้แยกไฟล์ต่างหากจากต้นฉบับโดยให้แนบเป็นไฟล์สกุล .jpg หรือ .gif เป็นต้น

    6. เอกสารอ้างอิง มีรายละเอียดตามที่กำหนด ดังนี้

        ให้นำปีที่พิมพ์ลงไว้หลังชื่อผู้แต่งและใส่ไว้ในวงเล็บ ดังตัวอย่าง

        6.1 ชื่อผู้แต่ง.//(ปีที่พิมพ์).//ชื่อเรื่อง.//พิมพ์ครั้งที่.//สถานที่พิมพ์/:/สำนักพิมพ์.

        6.2 ชื่อผู้แต่ง.//(ปีที่พิมพ์, เดือน).//“ชื่อบทความ,”//ชื่อวารสาร.//ปีที่หรือเล่มที่(ฉบับที่)/;/เลขหน้า.

        6.3 ชื่อผู้แต่ง.//(ปีที่พิมพ์).//ชื่อเรื่อง.//ระดับวิทยานิพนธ์.//ชื่อเมือง : ชื่อมหาวิทยาลัย.

        6.4 ชื่อผู้แต่ง.//(ปีที่พิมพ์).//ชื่อเรื่อง.//สืบค้นเมื่อ,//จาก//ระบุเว็บไซต์.

        6.5 การเขียนเอกสารอ้างอิงให้ใช้ 2 ภาษาคู่กัน คือ ภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ถ้ากรณีเป็นภาษาไทยให้แปลเป็นภาษาอังกฤษ

    7. ผลงานวิชาการที่ส่งมาต้องไม่ได้รับการเผยแพร่ที่ใดมาก่อน และไม่อยู่ในระหว่างการพิจารณากับวารสารฉบับอื่น

    8. การส่งต้นฉบับ  ให้ผู้เขียนบทความนำส่งต้นฉบับที่ tsic2022@gmail.com โดยสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ วิทยาลัยการท่องเที่ยวและอุตสาหกรรมบริการ มหาวิทยาลัยนครพนม 103 หมู่ 3 ถนนชยางกูร ตำบลขามเฒ่า อำเภอเมือง จังหวัดนครพนม  48000 โทร. 064-6459866 อีเมล์ tsic2022@gmail.com

    หมายเหตุ :

    1. บทความที่มีจำนวนเกิน 15 หน้า และ/หรือไม่ถูกต้องตามข้อกำหนดในการเตรียมต้นฉบับผลงานจะไม่ได้รับการพิจารณา

    2. ขอให้ผู้นำเสนอผลงานตรวจสอบความถูกต้องของตัวสะกดก่อนจัดส่ง ทั้งนี้ ฝ่ายจัดการประชุมวิชาการฯ จะไม่ทำการพิสูจน์อักษรซ้ำ และไม่รับผิดชอบในความผิดพลาดที่เกิดขึ้น

การตีพิมพ์เผยแพร่ผลงาน

ผลงานที่ผ่านการพิจารณาจะได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่ ดังต่อไปนี้

1. บทความฉบับสมบูรณ์ที่ได้รับคัดเลือกให้นำเสนอ ทุกบทความจะได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่ในเอกสารการประชุมวิชาการฉบับออนไลน์ (e-Proceeding) ที่มีเลข ISBN และเผยแพร่บนเว็บไซต์ของงานประชุมวิชาการ และเว็บไซต์ของวิทยาลัยการท่องเที่ยวและอุตสาหกรรมบริการ มหาวิทยาลัยนครพนม

2. บทความที่ได้รับรางวัล "Best Paper Award" จำนวน 3 บทความ จะได้รับโอกาสตีพิมพ์ในวารสารมหาวิทยาลัยนครพนม (TCI 1) และสามารถตีพิมพ์ในวารสาร Journal of Future Studies for Development (JFSD) และ Social Science Research & Innovation (SSRI) ฟรีค่าลงทะเบียน

bottom of page